วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

มหากาพย์ ชาวนา และที่ดิน เบื้องหลังการให้ร้ายวัดพระธรรมกาย

ตอนที่ 2: ปัญหาเรื่องที่ดินระหว่างวัดพระธรรมกาย และชาวนาในช่วงปี พ.ศ. 2527-2532

โดยภาพรวม อยากจะขอเล่าเรื่องย่อๆ ก่อนว่า ชาวนาในพื้นที่ 2000 ไร่ที่ มูลนิธิธรรมกาย ขอซื้อเพื่อให้เป็นสมบัติพระศาสนาของวัดพระธรรมกายนั้น มี 2 กลุ่ม


กลุ่มแรก เป็นชาวนาทั่วๆ ไป ใสซื่อ นิสัยดี มีความเข้าใจและทยอยออกจากพื้นที่เช่าแต่โดยดี โดยทางมูลนิธิธรรมกายได้จ่ายค่าชดเชยอย่างเป็นธรรม ทั้งยังให้เงินช่วยเหลือเพิ่มด้วย (อ่านต่อใน link ท้ายบทความ บทสัมภาษณ์ท่าน โกสินทร์ เกษทอง ซึ่งท่านเคยเป็นนายอำเภอคลองหลวงในสมัยนั้น แต่ด้วยความซื่อตรงของท่าน จึงได้เลื่อนไปเป็นถึงผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในท้ายสุด)


ส่วนกลุ่มที่สอง เป็นชาวนาหัวหมอ และหัวโจก ต้องการเรียกร้องค่าชดเชยจากวัดในอัตราราว 20-30 เท่าจากความเป็นจริง และได้สร้างมายาภาพ ให้ข้อมูลเท็จต่อสื่อมวลชน ทั้งยังได้ปั้นเรื่อง/แต่งเรื่องเท็จให้วัดมีภาพลักษณ์ที่ชั่วร้าย เพื่อเรียกร้องความเห็นใจจากคนทั่วไป


จากข้อกล่าวหาที่ว่า 

-  วัดพระธรรมกาย กว้านซื้อที่ดินหลายพันไร่ ในช่วงปี 2526    จนเกินความจำเป็น

-  วัดพระธรรมกายโกงชาวนา ย่านลำลูกกา!

-  วัดพระธรรมกาย ใช้รถแทรกเตอร์ไปไถ ไล่ที่ดินชาวนา!

-  วัดพระธรรมกายใช้อิทธิพลขับไล่ชาวนา!

-  ฯลฯ เกี่ยวกับวัดพระธรรมกายที่เอาเปรียบชาวนา

ข้อกล่าวหาตามข้างบนเหล่านี้

ล้วนไม่มีความจริงทั้งสิ้น!


1. ข้อกล่าวหาที่ว่า มูลนิธิธรรมกาย ได้กว้านซื้อที่ดินถึง 4 - 6 พันไร่ เกินความจำเป็นที่จะสร้างเป็นธุดงคสถาน แท้จริงแล้ว โครงการสร้างธุดงคสถานของมูลนิธิธรรมกายนั้น มีโครงการเพียงประมาณ 2 พันไร่เท่านั้น เพื่อจะรองรับสาธุชนประมาณ 1 ล้านคน (ซึ่งปัจจุบันนี้มีงานบุญที่สาธุชนมาร่วมงานบุญครั้งละ 3 - 5 แสนคน เป็นประจำแทบทุกเดือน)และในการซื้อที่ดินครั้งนี้ก็ไม่ได้มีขนาดถึง 4 - 6 พันไร่แต่อย่างไร (ตามเอกสารสัญญาจะซื้อที่ดินลงวันที่ 10 มิถุนายน 2526)


2. ข้อกล่าวหาที่ว่า การซื้อขายที่นา ไม่ถูกต้องตามพรบ./โกงชาวนาย่านลำลูกา การเช่านาเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 รวมทั้งไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนล่วงหน้า  ในเรื่องนี้ข้อแท้จริงมีอยู่ว่าง ทางกองมรดกเจ้าของที่ดินดังกล่าว ได้ปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมการเช่านาเพื่อเกษตรกรรม มาตรา 53 คือได้แจ้งการขาย ราคา การชำระเงินให้ประธาน คชก. ตำบลคลองสองทราบ ซึ่ง ประธาน คชก. ตำบลก็ได้แจ้งต่อไปยังผู้เช่านา ตามขั้นตอนทางกฎหมายเรียบร้อยแล้ว


จากนั้น มูลนิธิธรรมกาย จึงได้ไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จากเจ้าของที่ดินเมื่อวันที่ 10 และ 15 สิงหาคม 2527 โดยจดทะเบียนที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด สาขาธัญบุรี ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้มูลนิธิธรรมกายได้ให้สิทธิ์ในการเช่านาแก่ผู้เช่านาเดิมให้อยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุสัญญาเช่าที่ชาวนาเคยทำไว้กับเจ้าของที่เดิม


3. ข้อกล่าวหาที่ว่า มูลนิธิธรรมกายจะนำรถแทรกเตอร์ไปไถ หากลูกนาไม่ยอมออกจากที่ดินภายในวันที่ 15 พ.ค. 2528 นั้นก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่ข้อแท้จริงคือ มูลนิธิธรรมกายได้แจ้งไปยังผู้เช่านาว่า ถ้าลูกนารายใดประสงค์จะเลิกการเช่านาก่อนครบสัญญาตามกฎหมาย (ซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2529) ให้แจ้งมายังมูลนิธิเพื่อที่มูลนิธิธรรมกายจะจ่ายค่าทดแทนการเลิกเช่านาให้เป็นรายๆ ไป


ทั้งนี้จำนวนผู้เช่านาแปลงนี้มีทั้งสิ้น 32 ราย และในขณะนั้นได้มีผู้เช่านารับเงินค่าทดแทนดังกล่าวไปแล้ว 7 ราย อีก 7 รายกำลังติดต่อขอเลิกการเช่า และจะรับเงินค่าทดแทน ยังเหลืออีก 18 ราย ที่ยังไม่ได้บอกเลิกการเช่านา มูลนิธิธรรมกายจึงได้ขยายเวลาในการบอกเลิกเช่านาไปให้ถึงวันที่ 15 พ.ค. 2528 (ตามเอกสารหนังสือมูลนิธิธรรมกายลงวันที่  10 กุมภาพันธ์ 2528 ที่ส่งไปยังอำเภอคลองหลวง)


 ช่วยเหลือชาวนา 

นอกจาก มูลนิธิธรรมกายจะไม่ได้มีพฤติการณ์ตามที่ถูกกล่าวหาแล้ว มูลนิธิธรรมกายยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เช่านาในขณะนั้นเป็นอย่างสูงด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้


เมื่อเริ่มโครงการสร้างธุดงคสถาน มูลนิธิธรรมกายได้ตระหนักยิ่งว่าย่อมมีผลกระทบต่อชาวนาที่เช่านาอยู่ก่อน จึงได้เตรียมมาตรการรองรับเพื่อให้ความช่วยเหลือไว้ดังนี้


1) สำรวจสภาพฐานะของชาวนา พบว่า ชาวนาแต่ละครอบครัวมีหนี้สินอยู่ประมาณ 3 - 5 หมื่นบาท


2) หาทางปลดหนี้ให้ชาวนา โดยได้จ่ายค่าทดแทนการสละสิทธิ์เช่านาให้ชาวนาในอัตราส่วนที่สูงมาก คือ จ่ายให้ 2 แสน 1 หมื่นบาท ต่อผู้เช่านา 1 เส้น (30 ไร่)ซึ่งเป็นการจ่ายค่าทดแทนการเช่านาที่สูงที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น


3) จัดหาที่อยู่ใหม่ให้ไม่ไกลจากเดิม โดยได้เตรียมการหาที่ดินไว้เพื่อให้ชาวนาดังกล่าวได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย รวมทั้งสิ้น 70 ไร่ โดยห่างจากที่นาเดิมเพียง 4 กม. อยู่ในพื้นที่ตำบลเดียวกัน และยังอยู่ในเขตสุขาภิบาล มีถนนลาดยางอย่างดีผ่านที่ดิน การสาธารณูปโภคก็อยู่ในระดับที่ดีพอสมควร


โดยมูลนิธิธรรมกายได้วางหลักเกณฑ์ในการจัดที่ดินให้ชาวนาอยู่อาศัย ดังนี้

ตีราคาที่ดินไร่ละ 7 หมื่นบาท หมายความว่า ถ้าชาวนารายใดไม่ประสงค์จะรับเงินค่าทดแทนจำนวน 2 แสน 1 หมื่นบาทในข้อ 2 ก็จะได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 3 ไร่

หากชาวนารายใดต้องการที่ดินอยู่อาศัยเพียง 1 ไร่ ก็จะได้รับค่าทดแทนเป็นเงินสดอีก 1 แสน 4 หมื่นบาท


4) เตรียมงานให้ทำ โดยมูลนิธิธรรมกายยินดีรับผู้เช่านาพร้อมทั้งสมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมทำงาน ในโครงการธุดงคสถาน เพื่อจะได้มีงานทำ ซึ่งขณะนั้น ก็ได้รับชาวนาผู้เช่านาหลายรายเข้าทำงานแล้ว

ภาพหากิน ของสื่อมวลชน 

และคนที่เชื่อว่า 

วัดพระธรรมกายเอาเปรียบชาวนาในสมัยนั้น


ลองคิดดูง่ายๆ ว่า ถ้าคนในชุดขาว(ที่เป็นคนเข้าวัดฯ) ที่มีปืนเหน็บด้านหลังเป็นอันธพาลอย่างที่สื่อชอบกล่าวอ้างจริง ในเมื่อมีการต่อสู้เกิดขึ้น จะเสียเวลาใช้ไม้พลอง เสียม จอบตอบโต้กับกลุ่มชาวนาแก๊งอันธพาลทำไม?


ผิดตรรกะและวิสัยของคนอันธพาล!

ที่ต้องใช้อาวุธที่มีเข้าต่อสู้ในทันที


 เรื่องเล่าจากคนที่เคยเข้าใจผิด 

คุณปรัธยาน์ภรณ์ สงค์รอด ประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี เล่าว่าเธอเคยมาวัดพระธรรมกายตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 แล้วไม่ได้มาอีก เพราะเชื่อข้อมูลในทางลบ ซึ่งหนังสือพิมพ์ได้เคยเผยแพร่ผิดๆ เอาไว้ว่า วัดไปไล่ที่ชาวนา

ครั้นเดือนมกราคม พ.ศ.2538  มาปฏิบัติราชการในหน้าที่ประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี ได้มาวัดพระธรรมกายบ้างเป็นบางครั้ง เวลาทางวัดมีกิจกรรมที่ต้องทำข่าว ได้มีโอกาสประสานงานกับนักข่าวภายในพื้นที่ของจังหวัดเกือบ 50 คน จึงพอได้ทราบความจริงของวัดในอดีต ทำให้แก้ความเข้าใจผิดเดิมลงได้

โดยเฉพาะคุณสามารถ จิตสว่าง นักข่าวหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และคุณสมบัติ ศิริเสรีวรรณ นักข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ประจำจังหวัดปทุมธานี ให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า ความจริงเมื่อมีผู้บริจาคเงินซื้อที่ดินเพื่อขยายวัดในระยะแรกนั้น ทางวัดยังไม่ได้ใช้พื้นที่ จึงให้ผู้เช่านาซึ่งได้รับเงินค่าชดเชยแล้ว อยู่อาศัยไปก่อนชั่วคราว จนกว่าทางวัดจะต้องการใช้ที่ดินจึงให้โยกย้ายออก


ครั้นเวลาทางวัดต้องการใช้พื้นที่ ผู้เช่านาบางส่วนได้รับการปลุกปั่นยุยงจากคนภายนอก ให้เรียกร้องค่ารื้อถอนและอื่นๆ เพิ่มเติมจากเงื่อนไขเดิมที่ทำไว้ เมื่อไม่ได้ตามที่คิด พวกยุยงที่ได้รับการจ้างวานมาให้ทำลายวัดเพื่อผลประโยชน์ของตน ก็ยุพวกอดีตผู้เช่านา ให้ทำเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้ร้ายวัดขึ้นมา


สื่อมวลชนในยุคนั้นไม่ได้สืบสวนให้รอบคอบเสียก่อน พากันประโคมข่าวซึ่งเป็นข้อเท็จทั้งหมด ทางวัดเป็นฝ่ายพระศาสนา ไม่มีโอกาสชี้แจง จึงถูกกล่าวหาอย่างผิดๆ อยู่เป็นเวลายาวนาน แม้กระทั่งมีการฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นศาล ซึ่งศาลได้ตัดสินให้ทางวัดชนะความ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงเชื่อข่าวเดิมๆ อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้หมดโอกาสทำบุญใหญ่ไปตามๆ กัน 


อ้างอิงจาก

1. http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y6244790/Y6244790.html


2. สัมภาษณ์ท่านโกสินทร์ เกษทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย เผย "จุดที่ทำให้คนเข้าใจวัดผิดมาจนถึงทุกวันนี้...!!" ในบทสัมภาษณ์ของท่าน บอกถึงชื่อหัวโจกชาวนา การเอาเปรียบ โก่งราคาค่าที่ดินจากวัด สร้างภาพ และให้ข้อมูลเท็จกับสื่อมวลชน และรายละเอียดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในการขอให้ชาวนาออกจากพื้นที่ อย่างถูกกฏหมาย(ชาวนาเหล่านี้เป็นเพียงผู้เช่าที่เท่านั้น ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามที่ข่าวหรือสื่อสารมวลชน ที่อ้างมั่วกันในสมัยนั้น)


3. เรื่องที่ 83 เกือบจะสายเกินไป จากหนังสืออานุภาพพระมหาสิริราชธาตุเล่มที่ 10

 

ขอบคุณที่มา :

http://buddhismขอ59.blogspot.sg/2016/03/2527-2532.html

Related Posts

มหากาพย์ ชาวนา และที่ดิน เบื้องหลังการให้ร้ายวัดพระธรรมกาย
4/ 5
Oleh

Subscribe via email

Like the post above? Please subscribe to the latest posts directly via email.