วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สักเต็มหน้า ดราม่า ไม่ได้บวช ตัดสินที่ผิดถูกหรือความเหมาะสม ?

เหตุผลที่ไม่ให้บวช

 อาจารย์ท่านไหน 
ศิษย์มาขอเรียนวิชาความรู้ด้วย 
ถ้าอาจารย์เห็นว่า 
จะสอนศิษย์ไม่ได้ 
สอนไม่ไหว 
หรือด้วยเหตุผลอะไร
ของอาจารย์ก็ดี
อาจารย์ก็มีสิทธิ์ที่จะไม่รับ
ลูกศิษย์คนนั้นได้  



สักเต็มหน้า ดราม่า ไม่ได้บวช 


ดังเช่นประเด็นดราม่า หนุ่มหล่อจิตใจงาม แต่รอยสักเต็มตัว รวมทั้งสักเต็มใบหน้า ที่เพิ่งออกจากคุกมาหมาดๆ มะม่วงยังไม่ลืมต้น จะมาขอบวชกับหลวงพ่อวัดใกล้บ้าน แถวปทุมธานี แต่หลวงพ่อท่านไม่ให้บวช !!



ถามว่าสักเต็มหน้า ผิดหรือ ?
           การสักเต็มหน้า หรือมีรอยสักเต็มตัว แท้จริงแล้วไม่ได้มีบัญญัติไว้ในพระวินัยว่า ห้ามบวช แต่วิธีการบวชปัจจุบัน คือ การบวชแบบญัตติจตุตถกรรม คือ พระพุทธเจ้าจึงทรงยกให้เป็นหน้าที่ของสงฆ์ให้รวมกันเป็นคณะ เพื่อบวชให้แก่นาคท่านนั้น คือ มีพระภิกษุอย่างน้อย 5 รูปสำหรับพื้นที่ที่หาพระได้ยาก หรือ 20 รูปสำหรับในเขตที่มีพระภิกษุจำนวนมาก แล้วให้มีพระอุปัชฌาย์  1  รูป และพระคู่สวด  2 รูป  ส่วนภิกษุที่เหลือให้เป็นพระอันดับ ซึ่งจะต้องได้รับเสียงอนุมัติเป็นเอกฉันท์จากคณะสงฆ์ หากมีพระรูปใดรูปหนึ่งค้านแม้เพียงรูปเดียว อุปัชฌาย์ก็ไม่สามารถบวชให้ได้     




        ซึ่งใครที่จะบวชพระ พระสงฆ์ท่านจึงต้องให้มาอยู่วัด มาท่องคำขอบวชหรือคำขานนาค หรือมารักษาศีล 8 ให้ได้ก่อน ดังเช่นโครงการบวชพระต่างๆ ก็มักจะให้นาคมาอยู่วัดก่อนประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อฝึกฝนรักษาศีล 8 ไม่ทานข้าวเย็น ไม่ดูการละเล่น ฟังเพลง หรือแม้แต่เรื่องทางกามอารมณ์ทั้งหลายก็ต้องงดให้เด็ดขาด รวมทั้งต้องอบรมมารยาทต่างๆ ให้เหมาะสมกับความเป็นพระภิกษุอีกด้วย

          เมื่อบวชแล้ว อุปัชฌาย์ก็ต้องดูแล หรือหากอุปัชฌาย์ไม่ดูแล ก็สามารถมอบหมายให้พระอาจารย์เป็นผู้ดูแลแทนได้  แต่ถ้าอุปัชฌาย์คิดว่า ดูแลไม่ไหว หรืออาจจะสร้างปัญหาต่อไปในอนาคต ดังเช่นเจ้าคณะอำเภอคลองหลวง ที่ไม่อนุญาตให้หนุ่มท่านนี้บวช ด้วยเหตุผลว่า “บวชแล้วอุปัชฌาย์ก็ต้องรับผิดชอบ” นั่นคือ หากพระบวชใหม่ไปทำอะไรไม่ดีตามฆราวาสวิสัยที่ตัวเองคุ้นเคย คนที่ต้องรับผิดชอบก็คือพระอุปัชฌาย์นั่นเอง 

วิดีโอประกอบ : https://www.youtube.com/watch?v=P8MvOCL58tA

 ดังนั้นอุปัชฌาย์ก็มีสิทธิ์ที่จะไม่รับบวช จึงไม่ใจเรื่องแปลก ว่าเมื่อคนมีศรัทธา มีคุณสมบัติพร้อมบวชทุกอย่าง จะมาขอบวชแล้ว อุปัชฌาย์จะต้องให้บวชทุกคนเสมอไป แม้มีศรัทธาพร้อม คุณสมบัติพร้อม แต่นิสัยไม่ได้ อุปัชฌาย์ไม่รับ หรือมีพระรูปใดรูปหนึ่งคัดค้าน ก็บวชไม่ได้เช่นกัน


ฉะนั้น จึงอยู่ในดุลพินิจของพระอุปัชฌาย์ หรือพระรูปใดรูปหนึ่งคัดค้านก็ไม่สามารถบวชได้


        ดังเรื่อง ราธพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล พราหมณ์นี้เป็นคนว่ายากสอนยาก  ดื้อรั้น ไม่มีใครสอนได้ ego สูงนั้นเอง แต่มีจิตใจงามอยากบวช จึงขอบวชตอนแก่ แต่ก็ไม่มีพระภิกษุสงฆ์รูปใดเลยรับเป็นอุปัฌชาย์ให้ สุดท้ายมีพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก มีความกตัญญูเป็นเลิศ เห็นคุณของราธพราหมรณ์ ได้เคยใส่บาตรด้วยข้าว 1 ทัพพีแก่พระสารีบุตร  ท่านจึงรับบวชให้ 

        แต่กระนั้นพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา เป็นพระอรหันต์ มีคุณธรรม มีปัญญามาก แตกฉานพระธรรมวินัย จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับพระในปัจจุบันได้ ซึ่งยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย อุปัชฌาย์จะรับบวชท่านต้องคิดให้ดี ว่าจะสอนได้ไหม จะอบรมได้ไหม จะดื้อไหม จะอดทนได้ไหม ถ้าบวชแล้วสอนไม่ได้ ท่านก็ไม่รับบวช แถมมีรอยสักเต็มหน้าด้วย ถ้าบวชแล้วไปออกบิณฑบาต เกรงว่าจะไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของญาติโยม



ขอบคุณ :
ภาพข่าว https://www.thairath.co.th/content/1053040
               www.google.com

Related Posts

สักเต็มหน้า ดราม่า ไม่ได้บวช ตัดสินที่ผิดถูกหรือความเหมาะสม ?
4/ 5
Oleh

Subscribe via email

Like the post above? Please subscribe to the latest posts directly via email.

2 ความคิดเห็น

Tulis ความคิดเห็น
avatar
30 สิงหาคม 2560 เวลา 04:40

ไปลบรอยสักให้หน้าและตัวผ่องใส ฝึกรักษาศีลแปด ท่องคำขานนาค มาอยู่วัดสักปีหนึ่งก่อนแล้วค่อยพิจารณากันใหม่

Reply
avatar
31 สิงหาคม 2560 เวลา 03:42

ถ้าตั้งใจบวชตลอดชีวิตน่าอนุโมทนามากกว่าบวชแก้บนครับ ถือศีล 8 สักปีค่อยบวชก็ดีนะครับ

Reply